ต่ออายุ พรบ. รถมอเตอร์ไซค์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

ต่ออายุ พรบ. รถมอเตอร์ไซค์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

เรื่องของ พรบ.มอเตอร์ไซค์นั้นค่อนข้างสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเรื่องของเบี้ยประกัน ความคุ้มครอง และ พ.ร.บ มอเตอร์ไซค์นี้ก็ถือเป็นประกันภาคบังคับที่ทุกคนต้องทำด้วย ซึ่งสายซิ่งหลาย ๆ คนจำเป็นต้องทำความเข้าใจอย่างที่สุด โดยเฉพาะขั้นตอนการทำเพื่อการเตรียมตัวที่ถูกต้อง ว่าแล้วก็ไปติดตามดูพร้อมกันเลยดีกว่า

  • ขั้นตอนการเตรียมตัวเมื่อคิดต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์

ในส่วนของการต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์นั้นต้องบอกก่อนว่าอายรุรถจะต้องไม่เกิน 5 ปี โดยสามารถซื้อ พ.ร.บ. ได้เลยไม่ต้องเลือกซื้อจากตัวแทน โบรกเกอร์ หรือบริษัทที่ขายประกัน แต่หากอายุรถไม่เกิน 5 ปีขึ้นไปจะต้องตรวจสภาพรถก่อนเสมอที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) และเมื่อผ่านการตรวจแล้วเรียบร้อยจึงค่อยเตรียมเอกสารเพื่อนำไปยื่นต่อไป โดยจะมีด้วยกัน คือ

  1. บัตรประชาชน
  2. เล่มทะเบียนรถ (ถ่ายสำเนามาเผื่อด้วยก็ได้)
  3. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
ทั้งนี้ วัยรุ่นต้องไม่ปล่อยให้ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ของตัวเองขาดเกินกว่า 3 ปีโดยเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้น รวมถึงยังทำให้ทะเบียนรถถูกระงับไปด้วย ต้องมีการจดทะเบียนใหม่ และต้องมาจ่ายค่าภาษี + ค่าปรับย้อนหลังต่อเดือนที่ 1% ด้วย ดังนั้นอย่าปล่อยให้ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ขาดอายุโดยเด็ดขาดเพราะตัวคุณเองก็จะไม่ได้รับคุ้มครองใด ๆ จาก พ.ร.บ.

 

ไม่ใช่แค่ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์เท่านั้นแต่ยังต้องต่อภาษีมอเตอร์ไซค์ร่วมด้วย สามารถทำผ่านออนไลน์ได้ นอกจาก พ.ร.บ. ก็ภาษีมอเตอร์ไซค์ด้วยนี่แหละที่ห้ามปล่อยขาดเด็ดขาดเช่นกันไม่อย่างนั้นความคุ้มครองก็จะหายไป แถมยังผิดกฎหมายอีกต่างหาก

  • ความคุ้มครองด้านต่าง ๆ ของ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์
  1. คุ้มครองด้านค่าเสียหายเบื้องต้น
    เป็นการคุ้มครองแบบชดเชยค่าเสียหายเบื้องต้นที่ยังไม่ต้องพิสูจน์ว่าใครเป็นฝ่ายผิด โดยคิดเป็นจำนวนเงิน คือแตกต่างออกไปตั้งแต่ กรณีบาดเจ็บ กรณีเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ กรณีบาดเจ็บแล้วสูญเสียอวัยวะตามมา และรักษาพยาบาลแล้วเสียชีวิตภายหลัง

  2. ค่าสินไหมทดแทน
    จะได้รับเมื่อพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูก ทั้งผู้ขับขี่ + ผู้โดยสาร ซึ่งจะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม ไม่ว่าจะค่ารักษาพยาบาลตามจริง กรณีการสูญเสียอวัยวะที่มีหลักเกณฑ์เงินชดเชยอย่าง สูญเสีย 1 ส่วน, สูญเสีย 2 ส่วนขึ้นไป หรือสูญเสียนิ้วตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ และค่าชดเชยการรักษาผู้ป่วยในวันละ 200 บาท ระยะเวลาไม่เกิน 20 วัน
    จะเห็นได้เลยว่าการทำ พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์นั้นมีความสำคัญมาก ๆ และหากใครปล่อยให้ขาดโอกาสที่จะได้รับความคุ้มครองด้านต่าง ๆ ก็หายไปด้วย จากที่จะมีเงินมาช่วยเหลือกลับต้องออกเอง หวังว่าขั้นตอนข้างต้นจะช่วยให้หลายคนเข้าใจมากขึ้น และจัดการต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ รวมถึงภาษีมอเตอร์ไซค์ให้เรียบร้อย

กลับไปยังบล็อก