น้ำมันเครื่องมอเตอร์ไซค์มีกี่ประเภท และมีคุณสมบัติอย่างไร?

น้ำมันเครื่องมอเตอร์ไซค์มีกี่ประเภท และมีคุณสมบัติอย่างไร?

ตัวแรงแซงทุกโค้ง! แค่รู้จักว่าน้ำมันเครื่องมีกี่ประเภท แต่ละประเภทเหมาะกับการใช้งานแบบไหน?
น้ำมันเครื่องไม่เพียงแค่ใช้ดูแลรักษายางเท่านั้น แต่น้ำมันเครื่องถือเป็นอีกสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้การทำงานของเครื่องยนต์ราบรื่นและเต็มประสิทธิภาพที่สุด ไม่สึกหรอ แล้วน้ำมันเครื่องมีกี่ประเภท แต่ละประเภทเหมาะกับการใช้งานแบบไหน? เรื่องนี้คงต้องไปหาคำตอบกันหน่อยแล้ว

เหตุผลที่ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามรอบอย่างเหมาะสม
น้ำมันเครื่องมีส่วนช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อลดแรงเสียดทาน พร้อมช่วยป้องกันการสึกหรอ พร้อมระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ได้อย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถชะล้างสิ่งสกปรกได้ แล้วยังช่วยรักษากำลังอัดของเครื่องยนต์ได้ ที่สำคัญยังสามารถป้องกันสนิม และการกัดกร่อนของชิ้นส่วนเพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องยนต์


น้ำมันเครื่องมอเตอร์ไซค์มีกี่ประเภท แล้วใช้ยังไงนะ?
1. น้ำมันเครื่องแบบธรรมดา
เป็นน้ำมันเครื่องชนิด Base Oil หรือน้ำมันพื้นฐานที่กลั่นมาจากน้ำมันดิบ 100% อาจมีน้ำอยู่ 75 – 90% ใส่สารเติมแต่งเพิ่มเข้าไปอีก 10 – 15% แน่นอนว่าน้ำมันเครื่องประเภทนี้เหมาะกับมอเตอร์ไซค์ทั่วไป และมีราคาถูกสุดเมื่อเทียบกับน้ำมันเครื่องอื่น ๆ แต่คุณสมบัติการต้านทานจะมีอุณหภูมิสูงน้อยกว่า จำเป็นต้องเปลี่ยนเร็วกว่าน้ำมันเครื่องประเภทอื่น


2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์
เหมาะกับมอเตอร์ไซค์ที่ใช้งานหนัก เป็นน้ำมัน Base Oil แบบผสมผ่านการกลั่นจากน้ำมันดิบที่ได้จากการสังเคราะห์ ซึ่งอัตราส่วนแบบผสมที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและเกรดน้ำมันที่แต่ละผู้ผลิตใช้ โดยจะมีสารเติมแต่งเข้าไปเพิ่มเติม 10 – 15% ซึ่งน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ประเภทนี้จะมีประสิทธิภาพสูงมากกว่าน้ำมันเครื่องแบบธรรมดา แต่ก็จะมีราคาสูงกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา


3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์
มาจากการสังเคราะห์ทางเคมีแบบล้วนๆ อัตราส่วน 100% แล้วมีการเติมสารแต่งเข้าไปอีก 10 – 15% ซึ่งเป็นกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมีในห้องแล็บ จึงทำให้สามารถเพิ่มเติมคุณสมบัติอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำมัน โดยน้ำมันเครื่องประเภทนี้ เหมาะกับมอเตอร์ไซค์ที่ใช้งานหนัก นอกจากนี้ยังมีราคาแพงสุดด้วย

น้ำมันเครื่องแต่ละประเภทจำเป็นต้องเลือกใช้งานให้เหมาะกับรถมอเตอร์ไซค์ด้วย หลักพื้นฐานจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการขับขี่, ชนิดของน้ำมัน, การเลือกค่าความหนืดให้เหมาะกับรถ ฯลฯ ทั้งนี้ผู้ขับขี่จำเป็นต้องเปลี่ยนให้ตรงต่อเวลา หรือเปลี่ยนเร็วกว่ากำหนด อย่าทิ้งไว้นานเกินไป เพราะอาจเกิดปัญหาต่อเครื่องยนต์ กลายเป็นอุบัติเหตุบนท้องถนนได้
___________________________

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ สามารถติดต่อสอบถามกับแอดมินสุดสวยได้ที่
📱Line Official : @shulin (มี @ ด้วยนะคะ)
📱Tel. : 092-699-2253

Back to blog